วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประวัติผู้วิจัย

ประวัติผู้วิจัย

ชื่อ - สกุล                  นางธัญญรัตน์   แสนสุข                        
วัน เดือน ปีเกิด         วันที่  ..  เมษายน  พ.ศ.25..                     
ที่อยู่ปัจจุบัน             171/1 ถนนศรีสุนทร  ตำบลในเมือง  อำเภอเมือง  จังหวัดยโสธร  35000
สถานที่ทำงาน         วิทยาลัยเทคนิคยโสธร  ตำบลสำราญ  อำเภอเมือง  จังหวัดยโสธร  35000   
ตำแหน่ง                    ครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ  วิทยาลัยเทคนิคยโสธร                       
วุฒิการศึกษาสูงสุด   ปริญญาตรี (ศษ.บ.)  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  .นนทบุรี
                                 ปริญญาตรี (ค.บ.) เกียรตินิยม  วิทยาลัยครูจันทรเกษม  กรุงเทพฯ


รายชื่อผู้เชี่ยวชาญ

รายชื่อผู้เชี่ยวชาญ
1.  นายวรวัฒน์    บุญดี                ครู  วิทยฐานะชำนาญการ    วิทยาลัยเทคนิคยโสธร
                                                    วุฒิการศึกษา ปริญญาเอก (กศ..) เทคโนโลยีการศึกษา
2. นายก้องกุล   กุลแก้ว              ครู  วิทยฐานะชำนาญการ    วิทยาลัยเทคนิคยโสธร
                                                    วุฒิการศึกษา ปริญญาโท (วท..) เทคโนโลยีสารสนเทศ
3.  นายเรวัต     มาลากรรณ         ครู  วิทยฐานะชำนาญการ    วิทยาลัยการอาชีพโพนทอง 
                                                    .โพนทอง   .ร้อยเอ็ด
                                                   วุฒิการศึกษา ปริญญาโท (วท..) เทคโนโลยีสารสนเทศ
4.  นางเอมอร    พุฒิเปรมเดช     ครู  วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ  วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี
                                                   . เมือง       . อุบลราชธานี
                                                   วุฒิการศึกษา  ปริญญาโท (กศ..)  บริหารการศึกษา
5. นายคนึงชัย   วิริยะสุนทร      ครู  วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ  วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี
                                                  . เมือง     . อุบลราชธานี
                                                 วุฒิการศึกษา ปริญญาโท (ศศ..)  จารึกภาษาไทย
6. นายคนิจศักดิ์   คำภักดี         ครู  วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ  วิทยาลัยอาชีวศึกษาร้อยเอ็ด
                                                 . เมือง     . ร้อยเอ็ด 
                                                วุฒิการศึกษา ปริญญาโท (กศ..)  บริหารการศึกษา

วิชา ทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพ รหัส 3000-1101

จุดประสงค์  มาตรฐานและคำอธิบายรายวิชา
ชื่อวิชา ทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพ รหัส 3000-1101  ( 3 หน่วยกิต / 3 ชั่วโมง )

จุดประสงค์รายวิชา
1.            เพื่อให้มีความรู้  ความเข้าใจ  เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง
2.            เพื่อให้สามารถนำภาษาไทยไปใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารงานอาชีพและการดำเนินชีวิตได้ 
         อย่างมีประสิทธิภาพ
3.            เพี่อให้เห็นคุณค่า  ความงดงามของภาษาไทยและวรรณกรรมไทย

มาตรฐานรายวิชา
1.            เลือกใช้ภาษาไทยอย่างมีศิลปะ ถูกต้องตามหลักเกณฑ์  กาลเทศะ บุคคลและโอกาส
2.            วิเคราะห์และประเมินค่าสารที่ได้จากการฟัง  การดู  การอ่าน และนำเสนอข้อมูลอย่างมี
         ระบบ
3.            ใช้กระบวนการเขียน การพูด รูปแบบต่างๆ สื่อสารในงานอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ  
         และ มีคุณธรรม
4.            แยกแยะเนื้อหาสาระ  คติ  คุณธรรม  ค่านิยม  ที่ได้จากการศึกษาวรรณกรรม  และ
        ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนำมาประยุกต์ใช้ในงานอาชีพและการดำเนินชีวิตได้

คำอธิบายรายวิชา
                       ศึกษาและฝึกทักษะเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยในการสื่อสารอย่างมีศิลปะ ถูกต้องตาม       หลักเกณฑ์  กาลเทศะ บุคคล และโอกาส  วิเคราะห์ ประเมินค่าสารจากการฟัง  การดู การอ่าน การนำเสนอข้อมูลในเชิงให้  ความรู้ข้อคิดเห็น  ข้อเสนอแนะ และวิจารณ์อย่างมีเหตุผล  การพูดที่ใช้งานอาชีพและในโอกาสต่างๆ ของสังคม   การเขียนจดหมายที่จำเป็นต่องานอาชีพ   การใช้ภาษาไทยในการเขียนประชาสัมพันธ์  และการเขียนโฆษณา  เขียนรายงาน เขียนโครงการ และบทร้อยกรองเพื่องานอาชีพ  ศึกษาวรรณกรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องและเกิดประโยชน์ในงานอาชีพและการดำเนินชีวิต

ครูผู้สอน      นางธัญญรัตน์   แสนสุข

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

9.  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
        9.1 ได้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต รายวิชาทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพ รหัสวิชา 30001101 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) พุทธศักราช 2545 (ปรับปรุงพุทธศักราช 2546)   มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80 : 80  ที่กำหนดไว้
       9.2  นักศึกษาที่เรียนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต รายวิชาทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพ  รหัสวิชา 30001101  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
     9.3  นักศึกษามีความพึงพอใจต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  รายวิชาทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพ  รหัสวิชา 30001101  ในระดับมาก
    9.4 ได้เป็นแนวทางในการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในรายวิชาอื่นๆ ให้กับวิทยาลัยฯเทคนิคยโสธร และวิทยาลัยฯ อื่นๆ ที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมกับผู้สอนและผู้เรียน



นิยามศัพท์เฉพาะ

  6.  นิยามศัพท์เฉพาะ        
       6.1 บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หมายถึง บทเรียนการเรียนรู้รายวิชาทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพ  เรื่อง การเขียนโครงการ  บทร้อยกรองที่ใช้ในงานอาชีพ  และการพูดในโอกาสต่างๆ  สำหรับผู้เรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ที่เสนอผ่านสื่อคอมพิวเตอร์ระบบเครือข่าย  มีทั้งอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพกราฟิก โดยมีคำบรรยาย และเสียงประกอบ  ที่ทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ   โดยจัดเรียงเนื้อหาอย่างเป็นขั้นตอน มีคำอธิบาย  แบบฝึกหัด  และแบบทดสอบพร้อม  มีการให้ผลย้อนกลับ  การเรียนเป็นไปในลักษณะการมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive)ระหว่างผู้เรียนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้เรียนจะเรียนบทเรียนไปตามลำดับขั้นด้วยตนเอง
       6.2 การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หมายถึง การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ เรื่อง การเขียนโครงการ  บทร้อยกรองที่ใช้ในงานอาชีพ และการพูดในโอกาสต่างๆ   ด้วยโปรแกรมบทเรียนคอมพิวเตอร์    ที่นำมาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน    โดยสร้างตามหลักการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย  และเก็บบันทึกลงในแผ่นซีดีรอม พร้อมทั้งนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา  ประเมินคุณภาพ และนำมาปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ แล้วนำไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่างและปรับปรุง  จนบทเรียนมีประสิทธิภาพตามที่กำหนด                                     
      6.3 ประสิทธิภาพของบทเรียน หมายถึง  ผลการเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่สร้างขึ้น  โดยผู้เรียนต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าเกณฑ์  80/80
             80 ตัวแรก หมายถึง ค่าร้อยละของคะแนนเฉลี่ยของนักศึกษาจากการทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  คิดเป็นคะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80
             80 ตัวหลังหมายถึงค่าร้อยละของคะแนนเฉลี่ยของนักศึกษาจากการทำแบบทดสอบหลังเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  คิดเป็นคะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80
      6.4  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ความรู้ ความจำ ความเข้าใจ  ของนักเรียนในเนื้อหา วิชาที่เรียนจบจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเรื่อง การเขียนโครงการ บทร้อยกรองที่ใช้ในงานอาชีพ และการพูดในโอกาสต่างๆ  ที่วัดได้ จากคะแนนจากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ผู้ศึกษา ได้สร้างขึ้น         
      6.5  นักศึกษา หมายถึง นักศึกษา ระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ( ปวส.)  สาขางานการคอมพิวเตอร์ธุรกิจ  วิทยาลัยเทคนิคยโสธร  ภาคเรียนที่ 2   ปีการศึกษา  2554   จำนวน 35  คน
      6.6  หลักสูตร หมายถึง หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)  ของสำนักงานคณะกรรมการ  การอาชีวศึกษา พุทธศักราช 2545 (ปรับปรุง 2546)   
    6.7  วิชาทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพ หมายถึง รายวิชาที่จัดอยู่ในหลักสูตร ระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) พุทธศักราช  2545 (ปรับปรุง 2546 )
   6.8  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพ (30001101 ) เรื่อง การเขียนโครงการ  บทร้อยกรองที่ใช้ในงานอาชีพ และการพูดในโอกาสต่างๆ
    6.9  ความพึงพอใจของนักศึกษา หมายถึง ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต รายวิชาทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพ (30001101 ) เรื่อง การเขียนโครงการ  บทร้อย-กรองที่ใช้ในงานอาชีพ และการพูดในโอกาสต่างๆ
  6.10  ผู้เชี่ยวชาญ  แบ่งเป็น 2 ด้าน คือ
              6.10.1  ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาวิชาภาษาไทย  หมายถึง  ผู้ที่สำเร็จการศึกษาทางด้านภาษาไทย หรือมีประสบการณ์ในการทำงานด้านการสอนวิชาภาษาไทยตามเกณฑ์นี้ ปริญญาตรีมีประสบการณ์10 ปี ปริญญาโท มีประสบการณ์ 5 ปี
              6.10.2  ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง ผู้ที่สำเร็จการศึกษาทางด้านเทคโนโลยีการศึกษา หรือมีประสบการณ์ในการทำงานด้านเทคโนโลยีการศึกษาตามเกณฑ์นี้  ปริญญาตรี  มีประสบการณ์ 10  ปี  ปริญญาโท มีประสบการณ์ 5  ปี  

ขอบเขตของการวิจัย

5.  ขอบเขตของการวิจัย
        5.1  ด้านเนื้อหา       การวิจัยในครั้งนี้    มุ่งศึกษาเฉพาะบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  รายวิชาทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพ  รหัสวิชา 3000 -1101   แบ่งเป็น 3 หน่วยการเรียน ได้แก่ 
                   5.1.1  การเขียนโครงการ
                   5.1.2  บทร้อยกรองที่ใช้ในงานอาชีพ
                   5.1.3  การพูดในโอกาสต่างๆ      
        5.2   ตัวแปรในการศึกษา ครั้งนี้   ประกอบด้วย
                   5.2.1  ตัวแปรต้น  (Independent Variable)  ได้แก่   บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  รายวิชาทักษะภาษาไทย เพื่ออาชีพ  รหัสวิชา 3000 -1101
                   5.2.2  ตัวแปรตาม  (Dependent Variable)  ได้แก่  ผลการเรียนรู้  แยกเป็น
                      5.2.2.1  ประสิทธิภาพของบทเรียน  
                             5.2.2.2   ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
                             5.2.2.3  ความพึงพอใจในการเรียนรู้
        5.3  ระยะเวลาในการวิจัย
                 5.3.1   ภาคเรียนที่  2   ปีการศึกษา  2554   (พฤศจิกายน  -  ธันวาคม  2554 )
                5.3.2   วิธีการเรียนและช่วงเวลาเรียน   กลุ่มตัวอย่างจะเรียนด้วยตนเอง จากบทเรียนคอมพิวเตอร์  ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต วิชาทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพ รหัสวิชา3000 -1101 โดยใช้ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีเครื่องคอมพิวเตอร์  จำนวน 35  เครื่อง  เป็นระยะเวลา  3   สัปดาห์
        5.4  ด้านระเบียบวิธีวิจัย
                 5.4.1  การกำหนดแบบแผนการทดลอง
         ในการวิจัยครั้งนี้ ได้กำหนดแบบแผนของการวิจัย   เป็นการวิจัยเชิงทดลอง  (Experimental Research) ซึ่งการทดลองมีกลุ่มเดียว และมีการสอบก่อนเรียน และการสอบหลังเรียน โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบ One Group  Pretest  Posttest  Design (พวงรัตน์, 2540 : 60)  มีแบบแผนการทดลอง ดังนี้
ตารางที่ 3 - 1  แบบแผนการวิจัยแบบ One Group Pretest Posttest Design

สอบก่อน
ทดลอง
สอบหลัง
T1
X1
T2

สัญลักษณ์ที่ใช้ในแบบแผนการทดลอง
       X1  แทน  การเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
       T1   แทน  การสอบก่อนเรียน (Pretest)
                 T2   แทน  การสอบหลังเรียน (Posttest)
        
          5.5  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย
                  5.5.1  บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต รายวิชาทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพ รหัสวิชา 3000 - 1101  เรื่อง การเขียนโครงการ  บทร้อยกรองที่ใช้ในงานอาชีพ และการพูดในโอกาสต่างๆ
                  5.5. 2  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
                  5.5.3  แบบทดสอบวัดประสิทธิภาพของบทเรียน
                  5.5.4  แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต รายวิชาทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพ รหัสวิชา 3000 - 1101  เรื่อง การเขียนโครงการ  บทร้อยกรอง       ที่ใช้ในงานอาชีพ และการพูดในโอกาสต่างๆ  แบ่งระดับความพึงพอใจ  เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า  5 ระดับ ตามวิธีการของลิเคร์ท
5.6  การเก็บข้อมูล  ผู้ศึกษาได้เก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างทั้ง  2  กลุ่ม คือ  กลุ่มนักศึกษาที่เคยวิชานี้เรียนมาแล้ว จำนวน 35  คน กับกลุ่มที่ใช้ทดลอง  จำนวน 35 คน  เป็นนักศึกษา แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) วิทยาลัยเทคนิคยโสธร
         5.7  สถิติที่ใช้ในการวิจัย
                 5.7.1 การหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต รายวิชาทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพ  ใช้สูตรการหาประสิทธิภาพของบทเรียนตามเกณฑ์  80/80  (เสาวณีย์, 2538 : 294)   E1 / E2       
                  5.7.2  การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่ใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต รายวิชาทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพ  ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน  สถิติที่ใช้ทดสอบความแตกต่างของข้อมูล  ใช้สูตร  t- test (Dependent)  (ล้วน และอังคณา, 2538:104)
       5.7.3  การวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตรายวิชาทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพ ใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง และวิเคราะห์แบบสอบถาม โดยใช้สถิติ คือ  ค่าเฉลี่ย (Mean)  เพื่อใช้แปลความหมายของการทดสอบ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)  (ล้วน และอังคณา, 2538 : 79)    
          5.8  ข้อตกลงเบื้องต้น
      5.8.1 การวิจัยครั้งนี้ ไม่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างเพศ วัย พื้นฐานทางเศรษฐกิจ และอารมณ์ของผู้เรียน
        5.8.2  นักศึกษา  เป็นผู้ที่มีความสามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้พอสมควร  เช่น  เปิดปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ได้  ใช้แป้นพิมพ์และเมาส์ได้ และเปิดเล่นซีดีได้